
แนวดนตรีร็อกแอนด์โรล Rock’n Roll ความเป็นอมตะจากยุค50's music24s
แนวดนตรีร็อกแอนด์โรล Rock’n Roll ความเป็นอมตะจากยุค50’s
ดนตรีแนวร็อกแอนด์โรล (Rock’n Roll) เป็นดนตรีอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก มีการพัฒนาการในประเทศสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ยุคปลายทศวรรษทื่ 1940 และมาได้รับความนิยมอย่างสูงในทศวรรษที่ 50 พร้อมกับแพร่ขยายไปทั่วโลก มีชื่อเรียกกันอย่างคุ้นหูว่า “ร็อก” ถ้าจะพูดถึงเรื่องจังหวะก็บอกได้เลยว่าร๊อกนั้นจะเป็นจังหวะแบบ บูกี่ บูกกี้ บลูส์ และมีช่วงที่เด่น ๆ ได้แก่ช่วง “แบ็ค บีท” ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องเล่นด้วยกลองสแนร์ เพลงแนวร็อกในช่วงแรก ๆ จะเล่นด้วยกีต้าร์ไฟฟ้าตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปโดยจะเป็นลีดกีต้าร์ 1 ตัว และริทึมกีต้าร์อีก 1 ตัว กีต้าร์เบส และชุดกลอง สำหรับคีย์บอร์ดจะมีหรือไม่ก็ได้ เพราะเป็นแต่ดนตรีเสริม
แนวเพลงร็อกในยุค 50 มักจะมีแซกโซโฟนเข้ามาแทรกอยู่ด้วย ต่อมาจึงเป็นกีต้าร์โดยเฉพาะในยุคกลาง 50 เปียนโนก็เคยนำมาใช้ในวงร็อกเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงแรก ๆ ยุค 40 ความนิยมดนตรีร็อกมีอย่างมาก และแพร่หลายไปทุกสังคมในโลก และนอกจากจะเป็นท่านด้านดนตรีแล้ว ยังทำให้วัยรุ่นมีแฟชั่นอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย เช่น สไตล์การใช้ภาษา เนื่องจากจะเอาอย่างดาราที่ตนชื่นชอบได้แก่ เอลวิส เพรสลีย์ ที่เป็นดารานำในภาพยนตร์เพลงหลายเรื่องในยุคร็อกแอนด์โรล ต่อมาในปี ค.ศ. 1951 ดีเจจากรัฐโอไฮโอ ที่ชื่อ อลัน ฟรีด ซึ่งเป็นผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้คิดคำว่า “ร็อกแอนด์โรล” ได้เป็นคนแรก โดยการนำมาผสมผสานกับดนตรีของคนผิวดำ ทำให้ได้เป็นดนตรีแนวใหม่ขึ้นมา และเป็นจังหวะที่รุ่นแรงยิ่งขึ้น โดยมีเสียงกีต้าร์นำ ตามด้วยกลองที่รัวและเร็ว เป็นวัฒนธรรมดนตรีร็อกแอนด์โรลโดยแท้
ทำให้วัยรุ่นในสมัยนั้นคลั่งไคร้กันอย่างมาก และมีการใช้ภาษาในการพูดจาที่ฟังแล้วโจ่งแจ้ง เป็นการแสดงอารมณ์ออกมาได้อย่างชัดเจน รวมทั้งการแต่งกายและทรงผมที่แปลกตาออกไปโดยมีการไว้จอนยาว และหวีผมที่ต้องใช้เยลให้อยู่ตัว มีการเต้นรำอย่างบ้าระห่ำ ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงออกที่ทำให้เห็นตัวตนได้เป็นอย่างดี มีภาษากายที่แสดงออกอย่างเด่นชัด สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นแนวทางที่ขัดแย้งกับผู้ใหญ่หรือคนรุ่นเก่าในสมัยนั้นอย่างรุนแรงที่เห็นว่าไม่ถูกต้องในยุคนั้น ร็อกแอนด์โรลจึงถูกประณามว่าเป็นแนวดนตรีปีศาจ (Devil’s Music) เนื่องจากหลายคนยังไม่คุ้นกับความใหม่และแหวกแนวของดนตรีอย่างแท้จริง
ช่วงทศวรรษ 50 เป็นช่วงที่ศิลปินร็อกระดับที่เป็นตำนาน เริ่มทยอยกันมีชื่อเสียง และเริ่มมีผลงานดนตรีที่เป็นของตนเองในอเมริกา เริ่มจาก บิล ฮาลีย์ (Bill Haley) ที่มีผลงานฮิตและรู้จักกันไปทั่วโลกอย่างเพลง Rock Around The Colck (1954), ชัค เบอร์รี (Chuck Berry) กับผลงานเพลง Meybelline (1955), ลิตเติล ริชาร์ด (Little Richard) กับเพลง Long Tall Sally และ Rip it Up (1956) ที่มียอดขายเกินล้านแผ่น, เจอร์รี ลี เลวิส (Jerry Lee Lewis) กัลบเพลงที่ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ Whole Latta Shakin Goin On (1957) และเพลงที่ได้อันดับ 2 รองจากเพลงของเอลวิส ชื่อเพลง Great Ball od Firel (1957), Crazy Arma (1957) เอลวิส เพรสลีย์ ราชาร็อคแอนด์โรลที่มีเพลงติดอันดับนับไม่ถ้วนตั้งแต่ทศวรรษที่ 1956-1958 เช่น Love Me Tender (1956), Loving You (1957), Jailhouse Rock (1957), King Carole (1958), บัดดี้ ฮอลลี (Buddy Holly) กับผลงานเพลงที่เยี่ยมที่สุดของเขา Peggy Sue (1957) แนวดนตรีร็อกแอนด์โรล Rock’n Roll ความเป็นอมตะจากยุค50’s