
มารู้จักเพลง BLUES จุดเริ่มต้นที่มาจากความเจ็บ ปวด และทรมานในชีวิต
เพลง “บลูส์” (BLUES) หากใครไม่เคยฟัง หรือรู้จักมาก่อนอาจจะสงสัยเหมือนกันว่ามันคืออะไร อะไรคือ เพลงสีน้ำเงิน ( ฮ่า) แต่ความหมายของคำว่า บลูส์นั้นนอกจากจากหมายถึงสีน้ำเงิน หรือสีฟ้าแล้ว ยังตีความหมายถึง ความเศร้า ความหม่น ได้อีกด้วย ดังนั้น เพลงบลูส์ จึงหมายถึงบทเพลงที่ตีแผ่ความโศกเศร้า หม่นหมอง ความเจ็บปวดนั่นเอง
จากข้อมูลต่าง ๆ พบว่า เพลงบลูส์ มาจากทาสผิวดำ เชื้อสายแอฟริกัน ในอเมริกา ที่ต้องใช้แรงงานอย่างหนัก และถูกกดขี่ จนแทบไม่เหลือความเป็นคน เป็นพลเมืองชั้นล่าง ไร้ซึ่งเสรีภาพ เมื่อทาสถูกยกเลิกหลังจากที่อเมริกาเหนือ ชนะสงครามอเมริกาใต้ ทาสทั้งหมดจึงเป็นอิสระ มีทาสจำนวนมากเริ่มแตกแขนงไปทำหลาย ๆ อย่าง รวมไปถึงการสร้างชุมชนชาวผิวดำ วัฒนธรรมต่างของดนตรีแบบแอฟริกันจึงกำเนิดขึ้นมาในช่วงนั้น
มารู้จักเพลง BLUES จุดเริ่มต้นที่มาจากความเจ็บ ปวด และทรมานในชีวิต
ในยุคแรก ๆ เพลงแนวนี้จะมีเนื้อร้องที่สื่อแสดงออกถึงความเจ็บปวด ขมขื่น เสียใจ โศกเศร้า เมื่อนึกถึงตอนเป็นทาส อีกทั้งที่ไม่รู้จักดนตรี หรือเป็นไปได้ที่พวกเขาไม่อยากเล่นดนตรีแบบคนผิวขาว ที่ในยุคนั้นเพลงในอเมริกาจะเป็น เพลงแนวคันทรี การร้องเพลงของคนผิวดำมักจะเพี้ยน และคร่อมจังหวะไป แต่กลายเป็นว่ามีความไพเราะ มีเสน่ห์น่าฟังเป็นอย่างมาก
เพลงบลูส์ ในยุคแรก จะถูกนำไปเล่นอยู่ตามบาร์ของกลุ่มคนผิวดำเท่านั้น โดยเนื้อหาเพลงก็อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้แล้วว่า จะเป็นการบอกเล่าถึงความเจ็บปวด ความทุกข์ระทมที่ได้รับตอนเป็นทาส เรียกได้ว่าไม่มีเนื้อเพลงไหนที่พูดถึงอนาคตที่มีความสุข หรือกล่าวถึงความรักอันแสนหวานเลย เมื่อเวลาผ่านไปเพลงบลูส์ก็มีอิทธิพลต่อคนฟังมากขึ้นเรื่อย ๆ และถูกยอมรับเป็นวงกล้างในสังคมชาวอเมริกัน จากที่เล่นแต่ในบาร์ ก็เริ่มมีคนผิวขาวหันมาฟังเพลงแนวนี้เพิ่มมากขึ้น จนในที่สุดก็มีนักดนตรีผิวขาวนำมาเล่นจนดังก้องโลกที่แฟนเพลงคุ้นชื่อกันดี อย่าง Eric Clapton, Stevie Ray Vaughan, Gary Moore ฯลฯ
ถึงแม้ในอดีตต้นกำเนิดของเพลงบลูส์มาจากความเศร้า ในชีวิต ทนทุกทรมานอย่างแสนสาหัส แต่เมื่อเวลาผ่านพัฒนาการของเพลงบลูส์ก็เริ่มเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ยังมีการนำไปผสมเข้ากับดนตรีในรูปแบบอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นแนวร็อก หรือแนว ริทึมแอนด์บลูส์ อย่างศิลปินในบ้านเราในช่วงยุค 90s ที่ได้นำดนตรีแนวบลูส์มาผสมกับดนตรียุคใหม่เช่น วงอินคา, นูโว หรือคาราบาว เป็นต้น ซึ่งหากสังเกตดี ๆ จะมีหลาย ๆ เพลงที่มีกลิ่นอายของความเป็นบลูส์